วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค



รายงานการศึกษาค้นคว้า
เรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค


จัดทำโดย

                                                            นายธวัชชัย                        ศรีวงศ์ษา
                                                            นางสาวพลอยมณีรัตน์      คำงาม
                                                            นางสาวสุธามาศ                สมรูป
                                                            นางสาวทักษวดี                 ศรัทธาคลัง
                                                            นางสาวจิราพร                  ปลื้มใจ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ /

เสนอ
คุณครูนารีรัตน์  แก้วประชุม


โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อำเภอโพธิ์ไทร   จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต ๒๙
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗




รายงานการศึกษาค้นคว้า
เรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค


จัดทำโดย

                                                            นายธวัชชัย                        ศรีวงศ์ษา
                                                            นางสาวพลอยมณีรัตน์      คำงาม
                                                            นางสาวสุธามาศ                สมรูป
                                                            นางสาวทักษวดี                 ศรัทธาคลัง
                                                            นางสาวจิราพร                  ปลื้มใจ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ /

เสนอ
คุณครูนารีรัตน์  แก้วประชุม


โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อำเภอโพธิ์ไทร   จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต ๒๙
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗



คำนำ

              รายงานฉบับนี้เป็นส่วยหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคซึงคณะจัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียน และผู้ที่สนใจได้อ่านเป็นเอกสารเพิ่มเติม ต่อไป
              คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค ซึ่งทำให้ทราบถึง เนื้อหาหลักของประโยชน์ของสมุนไพร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ได้วิเคราะห์ให้ผู้อ่านนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป


                                                                                                                                       คณะผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
                                                                                                                       03/08/2557

















กิตติกรรมประกาศ

            รายงานฉบับนี้สำเร็จและสมบูรณ์เป็นรูปเล่ม ด้วยความกรุณาและเอาใจใส่เป็นอย่างดีจาก
คุณครู นารีรันต์ แก้วประชุม เป็นอย่างยิ่ง คุณครูประจำวิชา ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาและแนะแนวทางการดำเนินการทำรายงานในครั้งนี้โดยไม่มีข้อบกพร่อง รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อคดเห็นต่างๆตลอดทั้งการตรวจแก้ไขรายงานฉบับนี้ให้สำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทางคณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
                    ขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธ์ประสาทวิชา ความรู้ และประสบการณ์ตลอดจนอำนวยความสำเร็จให้บังเกิด


                                                                                                                                       คณะผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
                                                                                                                        03/08/2557

                                   













ชื่อเรื่อง     สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค
ผู้ศึกษา      1.นายธวัชชัย        ศรีวงศ์ษา
                  2.นางสาวพลอยมณีรัตน์    คำงาม
                  3.นางสาวสุธามาศ        สมรูป
                  4.นางสาวทักษวดี        ศรัทธาคลัง
                  5.นางสาวจิราพร        ปลื้มใจ 
ครูที่ปรึกษา  ครูนารีรัตน์       แก้วประชุม
ชื่อวิชา         การสื่อสารและการนำเสนอ
ชื่อโรงเรียน   โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร  ปีการศึกษาค้นคว้า 2557

บทคัดย่อ

                 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อการศึกษาประโยชน์ของสมุนไพร 2. เพื่อการศึกษาว่าสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคได้จริงหรือไม่ 3. เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคด้วยตนเอง 4. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพร
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏว่า
       1.ประโยชน์ของสมุนไพรมีดังนี้
                  1.1ช่วยรักษาโรค
                  1.2ใช้เป็นอาหารในการบริโภค
       2.จากการศึกษาเรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค สามารถนำสมุนไพรมารักษาโรคได้จริง นอกจากนี้สมุนไพรยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ ซึ่งปัจจุบันเราก็นำสมุนไพรมาประกอบอาหารเพื่อให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อมและน่ารับประทาน

                
                



สารบัญ

บทที่                                                                                                                                        หน้า
.
1.             บทนำ………………………………………………………………………………………1
       ความเป็นมาและความสำคัญ………………………………………………………………..1
              วัตถุประสงค์……………………………………………………………………… ……….1
              สมมุติฐาน………………………………………………………………………… …….....2
              ขอบเขตของปัญหา………………………………………………………………................2
              นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………………...2
              ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………………………...2
2.             เอกสารที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………. ..…….3
3.             วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า…………………………………………………………….51  
4.             สรุปผลการศึกษาค้นคว้า…………………………………………………………..............53
5.             อภิปรายและข้อเสนอแนะ…………………………………………………………. ……..54
6.             บรรณานุกรม……………………………………………………………………………...55
7.             ภาคผนวก…………………………………………………………………………………56
 




บทที่1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
             พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน
ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก

วัตถุประสงค์ของปัญหา
          1. เพื่อการศึกษาประโยชน์ของสมุนไพร
          2. เพื่อการศึกษาว่าสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคได้จริงหรือไม่
          3. เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคด้วยตนเอง
          4. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพร


สมมติฐาน
          สมุนไพรเป็นพืชที่มีอยู่มากในธรรมชาติและสามารถนำมารักษาโรคได้จริง

ขอบเขตของปัญหา
           เนื้อหา
                1.ประวัติความเป็นมาของสมุนไพร
                2.ประโยชน์ของสมุนไพร
                3.วิธีการใช้สมุนไพรรักษาโรค
                4.ชนิดของสมุนไพร
          ระยะเวลา
                ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
          ตัวแปรต้น
               สมุนไพรเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ใช้เป็นยา บำรุงโรค บำรุงร่างกาย
          ตัวแปรตาม
               สรรพคุณที่ใช้รักษาโรค

นิยามศัพท์เฉพาะ
          สมุนไพร คือ ผลผลิตจากธรรมชาติ ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรคบำรุงร่างกายหรือใช้เป็นยาพิษ
          โรค หมายถึง เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
          1.ทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพร
          2. ทราบถึงว่าสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคได้
          3. ทราบถึงวิธีการรักษาโรคด้วยตนเอง
          4.ทราบถึงประเภทของสมุนไพรแต่ละชนิด



บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  เอกสารที่ใช้ในการศึกษา เรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค มีหัวข้อและรายละเอียดดังนี้
          1. เพื่อการศึกษาประโยชน์ของสมุนไพร
          2. เพื่อการศึกษาว่าสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคได้จริงหรือไม่
          3. เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคด้วยตนเอง
          4. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพร























ความหมายของพืชสมุนไพร
          คำว่า สมุนไพร ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้
ความสำคัญของพืชสมุนไพร
          1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข
          พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
(1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
          2. ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ
          ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก โดยกำหนดชนิดของสมุนไพรที่มีศักยภาพ 13 ชนิด คือ มะขามแขก กานพลู เทียนเกล็ดหอย ดองดึง เร่ว กระวาน ชะเอมเทศ ขมิ้น จันทร์เทศ ใบพลู พริกไทย ดีปลี และน้ำผึ้ง

ประโยชน์ของพืชสมุนไพร
          สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
        -ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
        -ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
        -ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
        -ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
        -สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
        -ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
        -ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
        - เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
        - เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
        -ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
        -ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย




ชนิดของสมุนไพร
กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด  นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตันนอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
          ดอก  พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงน้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

คำฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius  L.
ชื่อสามัญ :  Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ :  Compositae
ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
สรรพคุณ :
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
          ดอก  พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
          เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
          ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
          ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
          ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

เสาวรส

ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora laurifolia  L.
ชื่อสามัญ :  Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
วงศ์ :  Passifloraceae
ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง
สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด
กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ









กระดังงาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree
วงศ์ :   ANNONACEAE
ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate

การะเกด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus tectorius  Blume
ชื่อสามัญ :   Screw Pine
วงศ์ :   PANDANACEAE
ชื่ออื่น :  การะเกดด่าง  ลำเจียกหนู  เตยดง เตยด่าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 ซม.ยาว 3-9 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. แต่ละผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก
สรรพคุณ :
ดอก
ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย
แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ
อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
วิธีใช้
 -  นำดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม นำดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ




กุหลาบมอญ

ชื่อวิทยาศาสตร์   Rosa damascena  Mill.
ชื่อสามัญ :   Rose, Damask rose
วงศ์ :   Rosaceae
ชื่ออื่น :  กุหลาบออน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อดอกสีชมพูหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง อยู่รวมเป็นกระจุก 3-5 ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้นเมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-7 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมากดอกดกและบานได้หลายวัน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ :  ดอกแห้ง และสด
สรรพคุณ :
ดอกแห้ง 
-
   เป็นยาระบายอ่อนๆ
-
  แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ
ดอกสด
กลั่นให้น้ำมันกุหลาบ แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง
วิธีใช้
 - ใช้ดอกแห้งเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ






บัวบก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Centella asiatica  Urban
ชื่อสามัญ :   Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
วงศ์ :   Umbelliferae
ชื่ออื่น :   ผักแว่น ผักหนอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด
สรรพคุณ :
ใบ 
 -   มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด
เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
ปวดศีรษะข้างเดียว
ขับปัสสาวะ
แก้เจ็บคอ
เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด
แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ




วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
-ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
-ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
-ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
-ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน
ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
-ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
-ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
-ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว
สารเคมี :  สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ :   Lotus
วงศ์ :   Nelumbonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก
สรรพคุณ :
ดีบัว 
  มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
ดอก, เกษรตัวผู้
- ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
เหง้าและเมล็ด
 - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
เมล็ดอ่อนและแก่
 - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
เหง้าบัวหลวง
 - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
ไส้ของของเมล็ด
 - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
ยางจากก้านใบและก้านดอก
- แก้ท้องเดิน
ราก - แก้เสมหะ
สารเคมี :
ดอก  มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine
embryo  มี lotusine
เมล็ด  มี alkaloids และ beta-sitosterol


บุนนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mesua ferrea  L.
ชื่อสามัญ :    Iron wood, Indian rose chestnut
วงศ์ :   GUTTIFERAE
ชื่ออื่น :  ก๊าก่อ ก้ำก่อ นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบหนา รูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุม ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ออกดอกระหว่างช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน ผล รูปไข่ ส่วนปลายโค้งแหลม โดยยังมีส่วนกลีบรองดอกขยายใหญ่ขึ้นติดอยู่ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ดอกสดและแห้ง ผล ใบ แก่น ราก เปลือก กระพี้
สรรพคุณ :
ดอก
 - กลั่นให้น้ำมันหอมระเหย ใช้ในการอบเครื่องหอมได้ดี ใช้แต่งกลิ่นสบู่
ดอกแห้ง
-  ใช้เข้ายาหอม แต่งกลิ่นแต่งรสทำให้รับประทานง่าย เป็นยาหอมบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ เป็นยาขับเสมหะบำรุงโลหิต แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้ลมกองละเอียด ซึ่งทำให้หน้ามืดวิงเวียนใจสั่น อ่อนเพลีย หัวใจหวิว ทำให้ชูกำลัง
ผล - ขับเหงื่อ ฝาดสมาน
ใบ - รักษาบาดแผลสด พอกบาดแผลสด แก้พิษงู
แก่น - แก้เลือดออกตามไรฟัน
ราก - ขับลมในลำไส้
เปลือก - ฟอกน้ำเหลือง กระจายหนอง
กระพี้ – แก้เสมหะในคอ

พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Shorea roxburghii  G.Don
ชื่อสามัญ :   White Meranti
วงศ์ :   DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น :  กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น
สรรพคุณ :
ดอก 
 ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ
เปลือกต้น
 - สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin มาก












พิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mimusops elengi  L.
ชื่อสามัญ :    Bullet wood
วงศ์ :    SAPOTACEAE
ชื่ออื่น :   พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
ส่วนที่ใช้ :  ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ
สรรพคุณ :
ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
ดอกแห้ง -  เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ
ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก
เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
ใบ - ฆ่าพยาธิ
แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
กระพี้ -  แก้เกลื้อน



มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อสามัญ :  Arabian jasmine
วงศ์ :   OLEACEAE
ชื่ออื่น :  มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่
สรรพคุณ :
ใบ, ราก -  ทำยาหยอดตา
ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
สารเคมี :
ดอก  พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
ใบ  พบ  jasminin sambacin



สารภี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis  Kosterm.
ชื่อพ้อง :  Ochrocarpus siamensis T.Anders
วงศ์ :   GUTTIFERAE
ชื่ออื่น :   สร้อยภี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไข่ปลายมนกว้าง บางทีปลายใบเว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็นรูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ :  ดอก ผลสุก
สรรพคุณ :
ดอกสดและแห้ง -  ใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ
ดอกตูม - ย้อมผ้าไหม ให้สีแดง
ผลสุก -  รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต







กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
กุ่มบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
ชื่อสามัญ :  Sacred Barnar, Caper Tree
วงศ์ :  Capparaceae
ชื่ออื่น : ผักกุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ
สรรพคุณ :
ใบ  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม
เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง


ข่า

ชื่อชื่อสามัญ :   Galanga
วิทยาศาสตร์  Alpinia  galanga   (L.) Willd.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
สรรพคุณ :
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
      ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร
รักษาลมพิษ
      ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
      ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหายสารเคมี  1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol
ขมิ้นชัน

Description: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/images/hb_11.jpg
ชื่อวิทยาศาสตร์  Curcuma longa  L.
ชื่อสามัญ :   Turmaric
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง
สรรพคุณ : เป็นยาภายใน
- แก้ท้องอืด
- แก้ท้องร่วง
- แก้โรคกระเพาะ
เป็นยาภายนอก - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
- ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
   เป็นยาภายในเหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
เป็นยาภายนอกเหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก
สารเคมี
          ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin
ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ :   White crane flower
วงศ์ :    ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :  
-ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย  
-ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด
-ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือ              วาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ 
-ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น










นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อพ้อง :  Volkameria fragrans  Vent.
ชื่อสามัญ :   Glory Bower
วงศ์ :   Labiatae
ชื่ออื่น :  ปิ้งหอม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ต้น ใบ และราก
สรรพคุณ :
ใบ 
        -   แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
ราก
        ขับระดู ขับปัสสาวะ
        แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
        แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
        แก้ไข้ แก้ฝีภายใน



แก้ริดสีดวง ดากโผล่
แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ
ตำรับยา และวิธีใช้
   เหน็บชา ปวดขา
        -ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
   ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
        -ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
   ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
        -ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
   ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
        -ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่
   โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
        -ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
สารเคมีที่พบ :  มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin

ใบระบาด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer
ชื่อสามัญ :   Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose
วงศ์ :   Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด
สรรพคุณ :  ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
สารเคมี
: เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
          หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน

เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Croton stellatopilosus  Ohba
ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz
วงศ์ :   EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น




เหงือกปลาหมอ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Acanthus ebracteatus  Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.
ชื่อสามัญ :   Sea holly
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ :  ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด
สรรพคุณ :
ต้นทั้งสดและแห้ง
       - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
ใบ
       - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
ราก 
       ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
       รักษามุตกิดระดูขาว
เมล็ด 
       - ปิดพอกฝี
       - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
พิลังกาสา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ardisia polycephala  Wall.
วงศ์ :   MYRSINACEAE
ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
เมล็ด แก้ลมพิษ
ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding









มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus acidus  (L.) Skeels
ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry
วงศ์ :   Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ :
ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน
รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี
ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid





ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynura pseudochina  (L.) DC.
วงศ์ :  Asteraceae  (Compositae)
ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  หัว ใบสด
สรรพคุณ :
หัว 
      -
  รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
      -
  แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม 
ใบสด
      ขับระดู
      ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน 
วิธีและปริมาณที่ใช้
     -ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
     -ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว





อัคคีทวาร

ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke
วงศ์ :   VERBENACEAE
ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ :
          ทั้งต้น  - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง








1. เจลว่านหางจระเข้   ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือวุ้นจากต้นว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้วันละ 2-3 ครั้ง


2.  มะขามแขก   เป็นยาระบายที่ดี ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก โดยรับประทานเมื่อมีอาการท้องผูกแต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ขาดสารโพแทสเซียม


3. หญ้าหนวดแมว   มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะเนื่องจากมีเกลือโพแทสเซียมมากและช่วย รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ชนิดเป็นกรดยูริกได้ ผู้เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรตัวนี้


4. เพชรสังฆาต  มีสรรพคุณ ขับลมในลำไส้ช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก
  เป็นสมุนไพรที่ต้องทานติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือนถึงจะเห็นผล


5. กระเทียมแคบซูล มีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและละลายลิ่มเลือดได้ คนที่เป็นที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารควรระมัดระวังในการใช้เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้


6.  ยาตำหรับชื่อว่า "ธรณีสัณฑะฆาต" ซึ่งประกอบตัวยาหลายชนิดด้วยกัน ใช้ในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ได้แก่ พริกไทยร่อน ยาดำ เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงค์ การบูร เนื้อลูกมะขามป้อม กานพลู หัวบุก ขิง ชะเอมเทศ  ลูกกระวาน เมื่อนำตัวยามาผสมกันแล้วจะช่วยในการ แก้ท้องผูก ปวดท้อง เถาตาน ใช้เป็นยากษัยเส้นได้ ข้อควรระวัง คือไม่ควรทำทานสมุนไพรชนิดนี้เมื่อมีไข้ สตรีมีครรภ์ ก็ห้ามทาน
          

7.  ขี้เหล็ก  สรรพคุณทางยา คือ ช่วยแก้อาการท้องผูก เพราะมีสารสำคัญพวก แอนทราควิโนน หลายชนิด ที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย อีกทั้งยังช่วยเจริญอาหาร เพราะมีรสขม ช่วยให้อยากทานอาหารยังช่วยให้นอนหลับเพราะมีสารจำพวกอัลคาลอยด์และช่วยบรรเทาอาการเป็นไข้ได้



8. บอระเพ็ด มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ ได้ รวมทั้งรสขม จะช่วยในการเจริญอาหาร แต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน

9.  มะระขี้นก   มีสรรพคุณช่วย ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย  รสขม ช่วยเจริญอาหาร


10.  สหัสธารา   ซึ่งมีตัวยามากกว่า 20 ชนิด ผสมอยู่ อาทิ โกฐเขมา โกฐมะพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนขาว ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ การบูร หัสคุณ เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงค์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้ในการถ่ายทอดมาจากโรงเรียนอายุรเวชซึ่งเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ศ.นพ. อวย เกตสิงห์ ได้บุกเบิกไว้ซึ่งจะช่วย ในการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ รวมทั้งอาการชาที่แขนและขา
   การบูร
11. เหงือกปลาหมอ มีสรรพคุณ ช่วยรักษาผู้ที่มีอาการ ภูมิแพ้ ผื่นคัน ข้อควรระวัง คือ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้เหงือกปลาหมอ








12. ลูกยอ มีฤทธิ์ทางยาช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ หรืออาการอาเจียนแต่ห้ามใช้ในคนที่แพ้ลูกยอ


13.กระชายดำ  มีสรรพคุณ ช่วยในการ ขับลม แก้ท้องอืด และบำรุงร่างกาย


14. ส้มแขก   มีสรรพคุณ ช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดการสร้างไขมัน แต่ห้ามใช้ในคนที่ท้องเสียง่าย
                   
          
15.  ตำหรับยา"เทพธารา" ซึ่งมีตัวยาหลายชนิด อาทิ เถาวัลย์เปรียง กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กระชายดำ ซึ่งจะช่วย รักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ปวดข้อ และบำรุงกำลัง 
16. ยาห้าราก หรือเรียกว่า เบญจโลกวิเชียร หรือยาแก้วห้าดวง หรือ ยาเพชรสว่าง ก็เป็นยาตัวเดียวกัน ประกอบไปด้วยตัวยา 5 ชนิด คือ รากเท้ายายม่อม รากคนทา รากย่านาง รากชิงซี และรากมะเดื่อชุมพร  มีสรรพคุณ ลดไข้ และแก้ปวด


17.  น้ำมันไพล  มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัดยอก และปวดเมื่อยโดยใช้ยาทาบริเวณที่เกิดอาการดังกล่าว
18. ยาแก้ไอมะขามป้อม  ช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ จิบเมื่อมีอาการ ไอหรือเจ็บคอ



19. ยาผง ดอกคำฝอย มีสรรพคุณ  ลดไขมันในเลือด และลดความดันโลหิต  ช่วยขับเหงื่อ

                          

20. ยาผงหญ้าดอกขาว  มีสรรพคุณ ช่วยลดการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารไนเตรดมีฤทธิ์  ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นรู้สึกชา รวมทั้งแก้ไข้ได้ด้วย



21.  ยาผงชะพลู มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ไอ ละลายเสมหะ

22.   เถาวัลย์เปรียง  มีสรรพคุณ  ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ


      ในอนาคตเมื่อมีการ นำสมุนไพรมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น การวิจัยและพัฒนาย่อมเกิดขึ้นตามมา นับเป็นทิศทางที่ดีของสมุนไพรไทย ในเมื่อสมุนไพรไทยมีดีอย่างนี้แล้ว เราควรหันมาใช้กันเยอะๆ เพราะแน่นอนว่านอกจากจะไม่มีผลข้างเคียงแล้ว สรรพคุณในการรักษาโรคนั้นยังดีเยี่ยมไม่แพ้ยาแผนปัจจุบันอีกด้วย

ข้อแนะนำการในใช้สมุนไพร
         1.  ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
         2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ ไม่เท่ากัน บางที่ผลแก่ ผลอ่อน ก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
         3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็เป็นอันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
         4. ใช้ให้ถูกวิธี  สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วืธีใช้ให้ถูกต้อง
         5. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่นท้องผูก ต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน จะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้นอกจากนั้นจะต้องระมัดระวัง ในเรื่องความสะอาดในการเก็บยา การเตรียมยา และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำยาจะต้องสะอาดด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดโรคอื่นติดตามมาได้





ข้อดีของสมุนไพร
       1.  เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
       2.  มีความปลอดภัยในการใช้  เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อนไม่ค่อยมีพิษมีภัย
       3.  ประหยัด  ราคาถูก
       4.  เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลทุรกันดาร
       5.  ไม่ต้องกลัวปัญหาการขาดแคลนยา
ข้อเสียของสมุนไพร
       1.  เป็นการยากที่จะเลือกใช้พืชสมุนไพรให้ถูกชนิด
       2.  เป็นการยากที่จะเลือกใช้สมุนไพรให้ถูกขนาด  ถูกสัดส่วน
       3.  การเตรียมยาค่อนข้างยุ่งยาก  
       4.  เห็นผลในการรักษาช้า
       5.  พืชสมุนไพรบางชนิดอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ใช้
ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร
       1.  อย่าใช้ยาที่ขึ้นราและมีสภาพแก่จนเสื่อมคุณภาพ
       2.  ใช้ยาให้ตรงกับโรคและให้ใช้ในปริมาณเพียงพอกับอาการของโรค
       3.  ระวังอย่าให้มีพืชชนิดอื่นหรือวัตถุชนิดอื่นปะปน
       4.  การใช้ยาสมุนไพรบางชนิดควรงดอาหารที่มันจัดและมีรสจัดทุกชนิดยางจึงจะมีประสิทธิภาพดี
แนวทางในการพิจารณาคัดเลือกสมุนไพรมาใช้
       1.  เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่
       2.  มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองการใช้
       3.  คำนึงถึงการที่จะหาเมล็ดหรือกิ่งพันธุ์ได้ง่าย
       4.  เป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ได้ง่าย
การแปรสภาพและเก็บรักษาพืชสมุนไพร
         ยาสมุนไพรโดยทั่วไป  มีทั้งการนำมาใช้สด ๆ  หรือตากให้แห้ง  การใช้สดนั้นมีข้อดีที่สะดวก  ใช้ง่าย  การรักษาของยาสมุนไพรไม่คงที่ บางครั้งฤทธิ์ดี  บางครั้งฤทธิ์ไม่ดี  ยาสมุนไพรส่วนมากนิยมใช้แบบแห้ง  คุณภาพของยาคงที่  เก็บสมุนไพรที่ต้องการตามฤดูกาล  แล้วนำมาแปรสภาพโดยผ่านขบวนการที่เหมาะสม  กระบวนการแปรสภาพยาสมุนไพรที่เหมาะสมนั้น  นำส่วนที่ใช้เป็นยามาคัดเลือก  การล้าง  การตัดเป็นชิ้นที่เหมาะสม  เก็บรักษา  วิธีการแปรสภาพยาสมุนไพรนั้นจะพบมากในอาหารไทย



ชาว่านหางจระเข้
ส่วนผสม
1.  เปลือกว่าหางจระเข้     1       ส่วน
2.  ใบเตยหอม               1       ส่วน
3.  เกลือ                      1       ส่วน
วิธีทำ
    ขั้นที่  1  นำเปลือกว่านหางจระเข้ไปล้างน้ำเกลือ แล้วไปลวกในน้ำร้อนเดือดจัด ๆ
         และตักใส่น้ำในน้ำเย็น ใช้กระชอนตักให้สะเด็ดน้ำ  แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
    ขั้นที่  2  ใบเตยหอม  นำมาทำความสะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  ผึ่งแดดให้แห้งและ
        ไปอบให้แห้ง  นำทั้ง 2  อย่าง มาผสมกัน
วิธีใช้
        ต้มน้ำให้เดือดยกลงใส่ชาว่านหางจระเข้ลงไป  คนให้ทั่วดื่มก่อนอาหาร
วิธีการใช้สมุนไพรรักษาโรค
        การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
            ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
            ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
            ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
            ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
            ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้นอาการแพ้ที่เกิดจากสมุนไพร สมุนไพรมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาทั่วไป คือมีทั้งคุณและโทษ บางคนใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยเพราะสมุนไพรมิใช่สารเคมีชนิดเดียวเช่นยาแผนปัจจุบัน ฤทธิ์จึงไม่รุนแรง (ยกเว้นพวกพืชพิษบางชนิด) แต่ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นควรหยุดยาเสียก่อน ถ้าหยุดแล้วอาการหายไป อาจทดลองใช้ยาอีกครั้งโดยระมัดระวัง ถ้าอาการเช่นเดิมเกิดขึ้นอีกแสดงว่าเป็นพิษของยาสมุนไพรแน่ ควรหยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือถ้าอาการแพ้รุนแรงควรไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาล
อาการที่เกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้ ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโต ๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด) หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้ามีอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่นเพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ ฯลฯ
ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองและเมื่อเขย่าจะเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรงต้องรีบไปหาแพทย์ อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรหรือซื้อยารับประทานด้วยตนเอง หากผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง หรือโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด บาดทะยัก กระดูกหัก มะเร็ง วัณโรค กามโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเรื้อน ดีซ่าน หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดบวม (ปอดอักเสบ) อาการบวม ไทฟอยด์ โรคตาทุกชนิด ไม่ควรใช้สมุนไพรถ้าผู้ป่วยมีอาการโรค/อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ไม่ควรรักษาด้วยการซื้อยารับประทานเอง หรือใช้สมุนไพร อาการที่รุนแรงมีดังนี้ไข้สูง (ตัวร้อนจัด) ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม บางทีพูดเพ้อ (อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้ป่าชนิดขึ้นสมอง) ไข้สูงและดีซ่าน (ตัวเหลือง) อ่อนเพลียมาก อาจเจ็บในแถวชายโครง (อาจเป็นโรคตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฯลฯ) ปวดแถวสะดือ เวลาเอามืดกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจท้องผูกและมีไข้เล็กน้อยหรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรงหรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ)
เจ็บแปลบในท้องคล้ายมีอะไรฉีกขาด ปวดท้องรุนแรงมาก ท้องแข็ง อาจท้องผูก และมีไข้เล็กน้อยหรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรงหรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ) อาเจียนเป็นโลหิตหรือไอเป็นโลหิต (อาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือปอด) ต้องให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ก่อน ถ้าแพทย์อยู่ใกล้ควรเชิญมาตรวจที่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องพาไปหาแพทย์ ควรรอให้เลือดหยุดเสียก่อน และควรพาไปโดยมีการกระเทือนกระแทกน้อยที่สุด ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ บางทีมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว บางทีถ่ายพุ่งถ่ายติดต่อกันอย่างรวดเร็ว คนไข้อ่อนเพลียมาก ตาลึก หนังแห้ง (อาจเป็นอหิวาตกโรค) ต้องพาไปหาแพทย์โดยด่วน ถ้าไปไม่ไหวต้องแจ้งแพทย์หรืออนามัยที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว ถ่ายอุจจาระเป็นมูกและเลือด บางทีเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยมาก อาจจะตั้งสิบครั้งในหนึ่งชั่วโมง คนไข้เพลียมาก (อาจเป็นโรคบิดอย่างรุนแรง) สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุไม่เกินสิบสองปีมีอาการไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียผิดปกติ คล้ายๆ กับอะไรติดอยู่ในคอ บางทีมีอาการหน้าเขียวด้วย (อาจเป็นโรคคอตีบ) ต้องรีบพาไปหาแพทย์โดยด่วนที่สุด อาการตกเลือดเป็นเลือดสดๆ จากทางไหนก็ตามโดยเฉพาะทางช่องคลอดต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องใบเพสลาด หมายถึงใบไม้ที่จวนแก่ ทั้งห้า หมายถึงส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก เหล้า หมายถึงเหล้าโรง (28 ดีกรี) แอลกอฮอล์ หมายถึงแอลกอฮอล์ชนิดสีขาวสำหรับผสมยา ห้ามใช้แอกอฮอล์ชนิดจุกไฟ น้ำปูนใส หมายถึงน้ำยาที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่รับประทานกับหมากมาละลายน้ำสะอาดตั้งทิ้งไว้ แล้วรินน้ำใสมาใช้ ต้มเอาน้ำดื่ม หมายถึงต้มสมุนไพรด้วยการใส่น้ำพอประมาณ หรือสามเท่าของปริมาณที่ต้องการใช้ ต้มพอเดือดอ่อนๆ ให้เหลือ 1 ส่วนจาก 3 ส่วนข้างต้น รินเอาน้ำดื่มตามขนาด ชงเอาน้ำดื่ม หมายถึงใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัดลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม 1 กำมือ มีปริมาณเท่ากับสี่หยิบมือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่งๆ 1 กอบมือ มีปริมาณเท่าสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือทั้งสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนของปลายนิ้วแตะกัน

1 ถ้วยแก้ว มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร
1 ถ้วยชา มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร
1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร
1 ช้อนคาว มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร
1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร

ความรู้ทั่วไปในการใช้พืชสมุนไพร

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
           ก่อนใช้ยาสมุนไพรทุกครั้ง ควรศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ สรรพคุณ ขนาดของยาที่ใช้และวิธีการใช้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลดีในการรักษา และไม่เป็นอันตราย ยาใดไม่เคยรับประทานมาก่อน ควรเริ่รัประทานจากขนาดน้อย ๆ ก่อนหากรับประทาน แล้วไม่เกิดอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ จึงรับประทานยานั้นตามกำหนด อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินขนาดที่กำหนด เช่นยาระบุว่า ใช้ต้มรับประทานต่างน้ำก็ไม่ควรไปต้มเคี่ยวรับประทาน ผู้ที่อ่อนเพลียมาก เด็กอ่อน คนชรา ห้ามใช้ยามาก เพราะความต้านทานของร่างกายมีน้อยกว่าคนปกติ อาจเกิดพิษได้ง่าย หากรับประทานยาแล้ว 1 วัน อาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนยา ส่วนโรคเรื้อรัง เช่น หืด โรคกระเพาะ ฯลฯ ให้ใช้ยาไปประมาณ 1 สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา ก่อนใช้ยาต้องรู้ข้อห้ามในการใช้เสียก่อน เพื่อความปลอดภัย เช่นหญิงมีครรภ์ห้าม รับประทาน ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำ ห้ามใช้เป็นต้น ควรเลือกใช้แต่ยาสมุนไพรที่รู้สรรพคุณที่แน่นอน และมีผู้ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลการรักษาตลอดจนข้อเสีย พิษ และผลข้างเคียงที่แน่นอนมาแล้ว ไม่ควรนำยาสมุนไพรปรุงผสมกับยาแผนปัจจุบันนำไปรักษาผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิด ผลแทรกซ้อนที่เกิดจากฤทธิ์ยาเสริมกันมากเกินไป หรือทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์หรืออาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
ข้อแนะนำสำหรับการใช้สมุนไพร
          หากผู้ป่วยมีโรคหรืออาการเจ็บป่วยและได้ใช้สมุนไพรรักษา เมื่ออาการเจ็บป่วยหายก็ให้หยุด ใช้แต่ถ้าอาการเจ็บป่วยยังไม่หายไป หรืออาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรไปปรึกษาสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลชุมชนในท้องถิ่นนั้น การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
          ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียก ไม่เหมือนกัน จึงต้อง รู้จักสมุนไพรและใช้ให้ถูกต้น
          ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ดจะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้ ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผลแต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตรายหรือ เกิดพิษต่อร่างกายได้ ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้อง รู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง ใช้ให้ถูกกับโรค เช่นท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น
วิธีเตรียมยาสมุนไพร
          ตำรับยาจากสมุนไพร ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ มักมีส่วนประกอบหลายชนิด บางตำรับอาจมากถึง 30-40 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นได้ 2 ประเภท คือ ตัวยาสำคัญ หรือตัวยาตรง อาจจะมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งประเภทลงไปได้อีกว่าเป็นตัวยาหลัก และตัวยาช่วย ตัวยาแต่งกลิ่น รส หรือตัวยาชูกลิ่น ชูรสการปรุงยา ต้องมีสูตรตำรับที่แน่นอนชัดเจน และจะต้องเข้าใจสูตรตำรับในแง่ต่อไปนี้
ชนิดและลักษณะของสมุนไพร
          สมุนไพรหลายชนิดมีชื่อพ้องกันบางชนิด มีฤทธิ์เป็นยา บางชนิดไม่มีฤทธิ์ทางยา และบางชนิดอาจเป็นพิษเช่น โคคลาน เมื่อทราบชนิดแล้วต้องทราบว่าใช้ส่วนไหน ของพืชหรือสัตว์ เช่น ส่วน ราก ใบ ดอก ผล หรือทั้งต้น (ทั้งห้า) เพราะแต่ละส่วนของพืชอาจมีสารที่เป็นยามากน้อยหรือต่างชนิดกัน ต่อไปก็ต้องทราบว่าใช้ส่วนนั้นสด ๆ หรือแห้ง สุดท้ายต้องทราบว่าก่อนนำมาผสมเป็นยา ต้องผ่านวิธีการใด ๆ ก่อนหรือไม่ เช่น การปิ้งใบชุมเห็ดเทศก่อนเอามาชงน้ำดื่ม ขนาดหรือน้ำหนักของสมุนไพร
วิธีการปรุง
          น้ำกระสายยา ซึ่งเป็นของเหลวที่ใช้ละลายหรือสกัดตัวยาจากสมุนไพร หรือใช้เพื่อเสริมตัว ยาหลักให้ออกฤทธิ์แรงและเร็วยิ่งขึ้น หรือเพียงใช้ในการเตรียมยาเพื่อความสะดวกในการกิน ตัวอย่าง น้ำกระสายยา เช่นน้ำสะอาด เหล้า น้ำปูนใส น้ำซาวข้าว เป็นต้น
ส่วนวิธีการปรุงยาที่กำหนดไว้ในตำราแผนโบราณ และวิธีการที่พระราชบัญญัติยากำหนดให้ ปรุงเป็นยาแผนโบราณได้ในปัจจุบันนี้มี 24 วิธี แต่ที่พบบ่อย ๆ และประชาชนสามารถเตรียมใช้ได้เอง คือ ยาลูกกลอน ยาชง ยาต้ม และยาดอง
เทคนิคการเตรียมยาสมุนไพร
          การปรุงยาสมุนไพรขึ้นใช้เอง ผู้ใช้จะมั่นใจในคุณภาพและความสะอาดของยาเตรียม และบางครั้งสมุนไพรบางชนิด ไม่มียาเตรียมสำเร็จรูปขาย อาจเนื่องจากติดขัดด้วยข้อบังคับทางกฎหมายบางประการ ความจำเป็นทางด้านการตลาดหรือความไม่คงตัวในสารของพืชนั้น ดังนั้นการเรียนรู้วิธีปรุงยาเองอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการใช้สมุนไพรมากขึ้น ยาเตรียมที่ปรุงได้เอง ได้แก่ ยาต้ม ยาชง ยาดองเหล้า ยาลูกกลอนเป็นต้น
ยาต้ม
          วิธีนี้เหมาะกับสมุนไพรที่มีสารสำคัญละลายออกมาในน้ำ เป็นวิธีที่เตรียมง่าย การดูดซึมค่อนข้างดี แต่รสชาดไม่ค่อยดี
ข้อควรระวัง
           ควรต้มกินเฉพาะแต่ละวัน ไม่ควรเก็บค้างคืน ภาชนะที่ใช้ต้ม ควรใช้หม้อดิน หม้อเคลือบหรือหม้อสแตนเลส ห้ามใช้โลหะ เหล็ก หรืออะลูมิเนียม เพราะกรดหรือสารฝาดในสมุนไพร จะทำปฏิกิริยากับโลหะจำพวกนี้ มีผลต่อยาต้มหรือบางครั้งโลหะจะละลายออกมา เป็นพิษต่อผู้ใช้ในระยะยาวได้
วิธีการเตรียมยาต้ม
           การเตรียมพืชสมุนไพร นำมาล้างสะอาด หั่นให้ได้ชิ้นที่มีขนาดพอประมาณ ไม่หยาบหรือละเอียดจนเกินไป สมุนไพรชิ้นโต ตัวยาละลายออกมาน้อย ถ้าเป็นผงละเอียดรินเฉพาะน้ำใสยาก แม้กรองด้วยผ้าขาวบาง ก็อาจมีผงยาหลุดปนมาทำให้ระคายคอเวลาดื่ม
สมุนไพรที่เป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน ควรทุบหรือบุบพอแตกทำให้เซลแตก น้ำมันหอมระเหยออกมาได้ดี
พืชสด ให้นำสมุนไพรใส่หม้อ เติมน้ำแล้วตั้งไฟทันที
พืชแห้ง หลังเติมน้ำแล้วแช่ทิ้งไว้ 10 - 20 นาที ก่อนยกตั้งไฟ
น้ำที่ใช้ เป็นน้ำสะอาด ใส ตามปริมาณที่ระบุในข้อบ่งใช้ของสมุนไพร ถ้าไม่ระบุปริมาณและเป็นการต้มธรรมดา ให้เติมน้ำจนท่วมยา
ระยะเวลาที่ต้ม ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร ซึ่งสามารถแบ่งได้คร่าว ๆ เป็น 3 จำพวก
ต้มพอเดือด การต้มแบบนี้ใช้ในการปรุงยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ส่วนของพืชที่ใช้มักจะเป็นเหง้า หรือส่วนอื่น ๆ ที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ดอกกานพลู ผลเร่ว เป็นต้น การต้มแบบนี้มักไม่ค่อยระบุจำนวนน้ำที่ใช้ ฉะนั้นจึงควรกะปริมาณของน้ำที่ใช้ต้มให้พอดื่มหมดภายในครั้งเดียว คือประมาณ 1 - 1 1/2 ถ้วย ต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่สมุนไพรที่บุบหรือทุบแล้วลงไป ปิดฝาภาชนะ ทิ้งให้เดือดนาน 1 - 2 นาที ยกลงรินเฉพาะน้ำดื่ม
ต้มเดือดพอประมาณ ใช้กับสมุนไพรทั่วไป และบางชนิดที่ระบุว่า ห้ามต้มเคี่ยว เติมน้ำในสมุนไพร ตามปริมาณที่กำหนดหรือท่วมตัวยา แล้วจึงยกภาชนะขึ้นตั้งไฟทิ้งให้เดือดนาน 10 นาที จึงยกลง รินเฉพาะน้ำ
ต้มเคี่ยว โดยทั่วไปใช้น้ำ 3 ถ้วย ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วย หรือประมาณที่กำหนดในพืชสมุนไพรบางชนิด
ยาชง
          เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญละลายในน้ำได้ดี วิธีเตรียมง่ายและสะดวกกว่ายาต้ม มักมีกลิ่นหอม แต่สกัดสารสำคัญได้น้อยกว่าวิธีต้ม
วิธีการเตรียม
           การเตรียมพืชสมุนไพร นำส่วนที่ใช้มาล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาดพอประมาณตากแดดหรือ อบจนแห้งเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
ชงโดยต้มน้ำเดือดลงในแก้วที่มีผงยา ปิดฝาทิ้งไว้ 3 - 5 นาที รินเอาส่วนใสดื่ม ห้ามทิ้งไว้นาน เกินกว่า 5 นาที
ยาดองเหล้า
           เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญที่ไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงไม่อาจเตรียม โดยการต้มหรือชงได้
ข้อควรระวัง
          สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่แพ้เหล้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเตรียมวิธีนี้ เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
วิธีการเตรียมยาดองเหล้า
          เตรียมพืชสมุนไพร มักใช้สมุนไพรแห้ง จึงต้องเตรียมล่วงหน้าโดยการนำสมุนไพรมาล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาดพอประมาณ ตากแดดหรืออบจนแห้ง
ชั่งยาตามน้ำหนักที่ต้องการ ห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ในขวดโหลแก้วเติมพอท่วมตัวยา (ใช้ได้ทั้งเหล้าโรง และเหล้าขาว ที่มีดีกรี ตั้งแต่ 28-40) ปิดฝาขวดให้สนิท เปิดคนทุกวัน จนครบ 1- 6 สัปดาห์
สำหรับยาดองเหล้าที่กำหนดให้ดองนาน 4 สัปดาห์ขึ้นไป และสารที่ออกฤทธิ์นั้น ไม่สลายตัว เมื่อถูกความร้อน อาจใช้วิธีดองร้อนเพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการดองดังนี้ นำสมุนไพร แห้งห่อผ้าขาว บางใส่ในภาชนะทนความร้อน เติมเหล้าท่วมตัวยา ยกภาชนะที่ใส่ยาดองวางในหม้อหรือกะทะที่มีน้ำ สะอาด ยกตั้งไฟจนน้ำในหม้อเดือด ยกภาชนะใส่ยาดองขึ้น ปิดฝาให้สนิท เปิดคนวันละครั้งจนครบ 1-2 สัปดาห์ แบ่งดื่มตามขนาดที่กำหนด
ยาลูกกลอน
          เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญและละลายในน้ำยาก ทำให้ใช้วิธีต้มหรือชงไม่ได้ หรือใช้กับยาที่มีกลิ่น รส ไม่ชวนรับประทาน เนื่องจากการเตรียมยาลูกกลอนต้องใช้สารเหนียว เช่น น้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ช่วยให้ผงยาเกาะตัวปั้นเป็นลูกกลอนได้ง่าย ความหวานจากสารเหนียวที่ใช้ทำให้ยาลูกกลอนมีรสหวานเล็กน้อย ยาลูกกลอนอาจเตรียมไว้ใช้ล่วงหน้าได้นานถึง 1 เดือน หรือนานกว่าแต่อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจอยู่เสมอว่ายาลูกกลอนยังใช้ได้โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกว่า เป็นลูกกลอนที่แห้งสนิท ไม่แตกร่วนหรือเยิ้มติดกัน หรือมีราขึ้นเป็นจุดสีขาว ๆ หรือเทา ถ้าไม่ได้ใช้ยาบ่อยครั้งควรเตรียมสมุนไพรในรูปผงแห้ง เก็บไว้เตรียมยาเฉพาะคราวจะปลอดภัยกว่า
วิธีการเตรียมยาลูกกลอน
           ผงยา ต้องแห้งสนิทและละเอียดพอสมควร ชั่งผงยาขนาดตามต้องการ ใส่ภาชนะแห้งสนิท เติมน้ำผึ้งทีละน้อย คนจนเข้ากันดี เติมน้ำผึ้งลงไปอีกจนผงยาทั้งหมดเกาะติดกัน และไม่เหนียวติดมือ การสังเกตปริมาณน้ำผึ้งที่ใช้พอดี โดยหยิบผงยาปั้นเป็นลูกกลอนด้วยมือ ถ้าผงเละติดมือปั้นไม่ได้ แสดงว่าน้ำผึ้งมากเกินไปให้เติมผงยาเพิ่ม ถ้าแห้งเกินไปผงยาไม่เกาะกันปั้นไม่ได้หรือปั้นเป็นลูกกลอนได้ แต่เมื่อบีบเบา ๆ จะแตกร่วนได้ง่ายแสดงว่าน้ำผึ้งน้อยไปให้เติมน้ำผึ้งอีก
เมื่อผสมยาได้ที่ ให้ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตรนำ ลูกกลอนตากแดด 1-2 วันหรืออบอุณหภูมิต่ำ 500C นาน 3-4 ชั่วโมง เก็บในขวดสะอาดและแห้งสนิท ปิดฝาเก็บไว้ในที่โปร่ง ไม่มีแดดส่องและความชื้นต่ำ




ข้อควรระวัง
           การผสมผงยา ควรทำทีละน้อย เพื่อจะปั้นให้หมดก่อนที่ผงยาจะแห้งลง ซึ่งจะร่วนแตกและปั้นไม่ได้ทำให้ต้องเติมน้ำผึ้งบ่อย ๆ สิ้นเปลืองน้ำผึ้งทั้งน้ำหนักของยาลูกกลอนแต่ละเม็ดจะแตกต่างกัน ไป ยาลูกกลอนที่ทำตอนท้ายจะมีน้ำหนักของน้ำผึ้งมากขึ้น เนื่องจากน้ำผึ้งมีราคาแพง จึงควรพัฒนาสูตรน้ำเชื่อมที่ราคาถูกลง จากการทดลองในภาควิชา เภสัชพฤกษศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล พบว่าสูตรน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลปีบผสมน้ำตาลทราย สามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำผึ้งได้ โดยเฉพาะการเตรียมที่ปั้นด้วยมือ และใช้รางทำลูกกลอน
อาการแพ้ที่เกิดจากสมุนไพร
           สมุนไพรมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาทั่วไปคือมีทั้งคุณและโทษบางคนใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยเพราะสมุนไพรมิใช่สารเคมีชนิดเดียวเช่นยาแผนปัจจุบันฤทธิ์จึงไม่รุนแรง(ยกเว้นพวกพืชพิษบางชนิด) แต่ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นควรหยุดยาเสียก่อน ถ้าหยุดแล้วอาการหายไป อาจทดลอง ใช้ยาอีกครั้งโดยระมัดระวัง ถ้าอาการเช่นเดิมเกิดขึ้นอีก แสดงว่าเป็นพิษของยาสมุนไพรแน่ ควรหยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นหรือถ้าอาการแพ้รุนแรง ควรไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาล
อาการที่เกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้ ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็ก ๆ ตุ่มโต ๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด) หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้าเป็นอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรคที่เจ็บป่วยนั้น ๆ มิใช่การแพ้ยาก็ได้ หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บลูบผมก็แสบหนังศีรษะ ฯลฯ ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อย ๆ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลือง เขย่าเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของ ดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรง ต้องรีบไปพบแพทย์อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรหรือซื้อยารับประทานด้วยตนเอง หากผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพร ได้ เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด บาดทะยัก กระดูกหัก มะเร็ง วัณโรค กามโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเรื้อน ดีซ่าน หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดบวม (ปอดอักเสบ) อาการบวม ไทฟอยด์ โรคตาทุกชนิด ไม่ควรใช้สมุนไพร ถ้าผู้ป่วยมีอาการโรค/อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ต้องรีบนำผู้ป่วยส่โรงพยาบาลทันที ไม่ควรรักษาด้วยการซื้อยามารับประทานเอง หรือใช้สมุนไพร อาการที่รุนแรงมีดังนี้
     






        (1) ไข้สูง (ตัวร้อนจัด) ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม บางที่พูดเพ้อ (อาจเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้ป่าชนิดขึ้นสมอง)
        (2) ไข้สูงและดีซ่าน (ตัวเหลือง) อ่อนเพลียมาก อาจเจ็บในแถวชายโครง (อาจเป็นโรคตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฯลฯ)
        (3) ปวดแถวสะดือ เวลาเอามือกดเจ็บปวดมากขึ้นหน้าท้องแข็ง อาจท้องผูกและมีไข้เล็กน้อย หรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรงหรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ)
        (4) เจ็บแปลบในท้องคล้ายมีอะไรฉีกขาด ปวดท้องรุนแรงมากท้องแข็งอาจมีตัวร้อนและคลื่น ไส้ อาเจียนด้วย บางทีมีประวัติปวดท้องบ่อย ๆ มาก่อน (อาจมีการทะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้)
        (5) อาเจียนหรือไอเป็นโลหิต (อาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือปอด) ต้องให้คนไข้นอนพักนิ่ง ๆ ก่อน ถ้าแพทย์อยู่ใกล้ควรเชิญมาตรวจที่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องพาไปหาแพทย์ ควรรอให้เลือดหยุดเสียก่อน และควรพาไปโดยมีการกระเทือนกระแทกน้อยที่สุด
        (6) ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ บางทีมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว บางทีถ่ายพุ่ง ถ่ายติดต่อกันอย่างรวดเร็ว คนไข้อ่อนเพลียมาก ตาลึก หนังแห้ง (อาจเป็นอหิวาตกโรค) ต้องพาไปหาแพทย์โดยด่วน ถ้าไปไม่ไหวต้องแจ้งแพทย์หรืออนามัยที่ใกล้บ้านที่สุดโดยเร็ว
        (7) ถ่ายอุจจาระเป็นมูกและเลือด บางทีเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยมาก อาจจะตั้งสิบครั้งใน 1 ชั่วโมง คนไข้เพลียมาก (อาจเป็นโรคบิดอย่างรุนแรง)
        (8) สำหรับเด็กโดยเฉพาะอายุภายใน 12 ปี ไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียงผิดปกติคล้าย ๆ กับมี อะไรติดอยู่ในคอบางทีมีอาการหน้าเขียวด้วย(อาจเป็นโรคคอตีบ)ต้องรีบพาไปหาแพทย์โดยด่วนที่สุด
        (9) อาการตกเลือดเป็นเลือดสด ๆ จากทางไหนก็ตาม โดยเฉพาะทางช่องคลอดต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด










ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรได้ถูกต้อง
คำที่ควรทราบ
ความหมาย
ใบเพสลาด
ใบไม้ที่จวนแก่
ทั้งห้า
ส่วนของ ราก ต้น ผล ใบ ดอก
เหล้า
เหล้าโรง (28 ดีกรี)
แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ชนิดสีขาว สำหรับผสมยาห้ามใช้แอลกอฮอล์ชนิดจุดไฟ
น้ำปูนใส
ต้มเอาน้ำดื่ม
น้ำยาที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่รับประทานกับหมากมาละลายน้ำสะอาด ตั้งทิ้งไว้แล้วรินน้ำใสมาใช้
ใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัดลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม
1 กำมือ
มีปริมาณเท่ากับ สี่หยิบมือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่ง ๆ
1 กอบมือ
มีปริมาณเท่า สองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพร ที่ได้จาก การใช้มือสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนของปลายนิ้วแตะกัน
1 ถ้วยแก้ว
มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร
1 ถ้วยชา
มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร
1 ช้อนโต๊ะ
มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร
1 ช้อนคาว
มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร
1 ช้อนชา
มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร









บทที่ 3





วิธีการดำเนินศึกษาค้นคว้า

ในการศึกษาค้นคว้าเรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไปนี้
1. กำหนดขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้ากำหนดขอบเขตดังนี้
 1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหาได้แก่
      - ประวัติความเป็นมาของสมุนไพร
      -  ประโยชน์ของสมุนไพร
      - วิธีการใช้สมุนไพรรักษาโรค
      - ชนิดของสมุนไพร
 1.2 ขอบเขตด้านประชากรได้แก่
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 50 คน
 1.3 ขอบเขตด้านระยะเวลา
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557
2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้เรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเป็นแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดได้
3. ทำป้ายนิเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไปให้ครูที่ปรึกษาวิเคราะห์ด้านเนื้อหา โครงงาน หลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะนำแล้วพิมพ์เป็นฉบับจริงก่อนการเผยแพร่
4. ออกแบบสำรวจความคิดเห็น เรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค โดยออกแบบเป็นแบบประเมินค่าเป็นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วนำแบบสำรวจไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้างหลังจากนั้นเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข พิมพ์เป็นฉบับจริงนำไปสำรวจกลับกลุ่มเดิม
5. สรุปผลสำรวจความคิดเห็น










บทที่ 4
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

    ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน ไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์ของปัญหา
          1. เพื่อการศึกษาประโยชน์ของสมุนไพร
          2. เพื่อการศึกษาว่าสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคได้จริงหรือไม่
          3. เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคด้วยตนเอง
          4. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพร
สมมติฐาน
          สมุนไพรเป็นพืชที่มีอยู่มากในธรรมชาติและสามารถนำมารักษาโรคได้จริง
สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
       1.ประโยชน์ของสมุนไพรมีดังนี้
              1.1 ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
              1.2 ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
              1.3 ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
                1.4 ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้                              กรอก แฮม เบคอน
              1.5 สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
              1.6 ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
              1.7 ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
              1.8  เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
              1.9  เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรใน   ท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
              1.10ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
              1.11ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
       2.จากการศึกษาเรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค สามารถนำสมุนไพรมารักษาโรคได้จริง นอกจากนี้สมุนไพรยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ ซึ่งปัจจุบันเราก็นำสมุนไพรมาประกอบอาหารเพื่อให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อมและน่ารับประทาน


ผลสรุปแบบสอบถามความคิดเห็น

การสำรวจความคิดเห็น

(คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

1.สมุนไพรสามารถรักษาโรคได้จริง

92

8
2.สมุนไพรแต่ล่ะชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

94

6
3.สมุนไพรบางชนิดถ้าใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นพิษได้

94

6
4.สมุนไพรเป็นพืชที่พบได้มากในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์

92

8
5.สมุนไพรหาได้ง่ายตามท้องถิ่น

88

12
6.สมุนไพรสามารถนำมาประกอบอาหารได้

94

6
7.สมุนไพรบางชนิดรักษาได้เฉพาะโรค

100

-
8.ผู้ที่มีความรู้ด้านสมุนไพรสามารถรักษาโรคได้เองด้วยสมุนไพร

               96

4
9.สมุนไพรให้ได้ทั้งคุณและโทษ

86

14
10.สมุนไพรเป็นยารักษาโรคที่คนในท้องถิ่นรู้จัก

88

12









บทที่ 5
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

           จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า สมุนไพรสามารถนำมารักษาโรคได้หลายโรคไม่ว่าจะเป็นส่วนต่างๆของสมุนไพร เช่น ลำต้น ใบ ราก ดอก ผลและส่วนอื่นๆของสมุนไพรอีกด้วย ในการใช้รักษาโรคต้องแยกตามประเภทของโรคเพราะส่วนต่างๆของสมุนไพรมีสรรพคุณที่แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของสมุนไพร
ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
         1.ควรมีการเผยแพร่ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคให้กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงโรค  ต่างๆและ
ผู้ที่สนใจ
         2.ควรใช้รูปแบบที่หลากหลายในการเผยแพร่ เช่น การจัดนิทรรศการในโรงเรียน ชุมชนการสร้าง
เว็บเพจเรื่องสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคในอินเทอร์เน็ตและเฟสบุ๊ค เป็นต้น
         3.รณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจและป้องกันโรคด้วยสมุนไพร
















บรรณานุกรม
www.medplant.mahidol.ac.th
www.health.kapook.com/view37827.html
www.natherbexpo.dtam.moph.go.th

























ภาคผนวก



สัมภาษณ์ท่าน นายแพทย์ บรรพต ภวะวิจาย์

 สมุนไพรที่แปรรูป

ถ่ายรูปร่วมกับท่านนายแพทย์











แบบสอบถาม
เรื่อง สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค

ข้อที่
หัวข้อสอบถาม
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
1
สมุนไพรสามารถรักษาโรคได้จริง


2
สมุนไพรแต่ล่ะชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน


3
สมุนไพรบางชนิดถ้าใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นพิษได้


4
สมุนไพรเป็นพืชที่พบได้มากในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์


5
สมุนไพรหาได้ง่ายตามท้องถิ่น


6
สมุนไพรสามารถนำมาประกอบอาหารได้


7
สมุนไพรบางชนิดรักษาได้เฉพาะโรค


8
ผู้ที่มีความรู้ด้านสมุนไพรสามารถรักษาโรคได้เองด้วยสมุนไพร


9
สมุนไพรให้ได้ทั้งคุณและโทษ


10
สมุนไพรเป็นยารักษาโรคที่คนในท้องถิ่นรู้จัก